พิพิธภัณฑ์ชุมชน นาอุดม-โนนหนองหอ หรือแหล่งโบราณคดีโนนหนองหอ

พิพิธภัณฑ์ชุมชน นาอุดม-โนนหนองหอ หรือแหล่งโบราณคดีโนนหนองหอ แหล่งโบราณคดีโนนหนองหอ ต.นาอุดม อ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร เป็นแหล่งโบราณคดีในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย หรือ ยุคเหล็ก อายุประมาณ 2500 -1500 ปีมาแล้ว จากการดำเนินงานระหว่าง ปี 2550-2552 ทั้งงานโบราณคดีและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการมรดกศิลปวัฒนธรรมใน ชุมชนท้องถิ่น ทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลทางวิชาการที่สำคัญทั้งยังเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่เกิด ขึ้นในวงการโบราณคดีประเทศไทย นั่นก็คือ การค้นพบแหล่งผลิตกลองมโหระทึกในประเทศไทย เมื่อพิจารณาถึงการแพร่กระจายกลองมโหระทึกตามชุมชนโบราณหลายแห่งในประเทศ ไทย ซึ่งเดิมเราต่างก็เชื่อกันว่ากลองมโหระทึกเหล่านั้นผลิตขึ้นในแถบจีนตอนใต้ และเวียดนามเหนือทั้งสิ้น จากหลักฐานสำคัญของแหล่งโบราณคดีโนนหนองหอ ไม่ว่าจะเป็น ชิ้นส่วนแม่พิมพ์กลอง เบ้าหลอม ก้อนโลหะ (สำริด /ทองแดง) แม่พิมพ์เครื่องมือ เครื่องมือเครื่องใช้สำริด ได้แสดงถึงกิจกรรมด้านโลหะกรรมอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการหล่อกลองมโหระทึก ซึ่งยังไม่เคยปรากฎหลักฐานในดินแดนประเทศไทยมาก่อน และอาจเป็นไปได้ว่ากลองมโหระทึกหลายใบที่พบในประเทศไทย โดยเฉพาะในเขตพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร อาจจะผลิตขึ้นที่แหล่งโบราณคดีแห่งนี้ นอกจากนั้นหลักฐานต่างๆที่ค้นพบยังบ่งบอกถึงลักษณะร่วมกันทางวัฒนธรรมหลาย ประการ สามารถนำไปสู่การอธิบายและแปลความการติดต่อสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างผู้คน ในกลุ่มวัฒนธรรมเตียนในจีนตอนใต้ วัฒนธรรมดองซอนในเวียดนามตอนเหนือ และชุมชนโบราณของประเทศไทยต่อไป  ( ข้อมูลโดยคุณสุกัญญา เบาเนิด นักโบราณคดีชำนาญการ) ที่มา : http://www.finearts.go.th/node/6340

พิพิธภัณฑ์ชุมชนไทกะเลิงดอนตาล

พิพิธภัณฑ์ชุมชนไทกะเลิงดอนตาล ตั้งอยู่ภายในวัดมัชฌิมาวาส อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร เป็นวัดที่มีความเก่าแก่ของอำเภอ และเป็นที่รักษากลองมโหระทึกโบราณ(กลองทองหรือกลองกบ)ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย   ริเริ่มการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ชุมชนภายในวัดเมื่อปี  พ.ศ.2563 นำโดย คุณพ่อกีรติ ปาวงศ์ และคณะนักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุ หรือวิทยาลัย ฒ ผู้เฒ่า ไทกะเลิง เป็นผู้รวบรวม ร่วมกับท่านเจ้าอาวาส ซึ่งภายในวัดมีเรื่องราว  โบราณสถานและวัตถุโบราณอยู่หลายชิ้น กลองมโหระทึก เป็น กลองสัมฤทธิ์หน้าเดียว เส้นผ่าศูนย์กลาง 86 เซนติเมตร ตัวกลองยาว 90 เซนติเมตร หน้ากลองเป็นรูปตะวันนูนมีแฉก 14 แฉก มีรูปกบติดขอบกลองจำนวน 4 ตัว กลองดังกล่าวเชื่อว่าอายุไม่ต่ำกว่า 3,000 ปี และเป็นกลองที่พวกข่าและขอมโบราณชอบเก็บสะสมไว้ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2481 ที่บริเวณริมตลิ่งแม่น้ำโขงที่น้ำเซาะพังตรงบ้านนาทามของลาวและในบริเวณวัดยังมีสิมเก่าแก่ซึ่งมีรูปทรงเป็นเอกลักษณ์สวยงามน่าสนใจ โดดเด่นโดยช่างเวียดนามในสมัยนั้นเป็นผู้ก่อสร้าง   นอกจากนี้ คณะกรรมการพิพิธภัณฑ์ได้รวบรวม สิ่งของโบราณ มาเรียบเรียงไว้ เพื่อจัดแสดงภายในวัดเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ และข้อมูลสำคัญให้ลูกหลานได้ศึกษาเรียนรู้อีกด้วย

พิพิธภัณฑ์ชุมชนไทอีสานบ้านค้อ

พิพิธภัณฑ์ชุมชนไทอีสานบ้านค้อ ตั้งอยู่ภายในวัดชัยภูมิ ตำบลบ้านค้อ อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร พิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านค้อ ตั้งอยู่ภายในวัดชัยภูมิ ตำบลบ้านค้อ อำเภอคำชะอี  เป็นวัดประจำหมู่บ้าน มีงานประเพณีบุญข้าวจี่ยักษ์ ประเพณีบุญคุ้ม ตุ้มโฮมวัฒนธรรม งานประเพณีบุญข้าวจี่เป็นงานที่จัดขึ้นมาเป็นประจำทุกปี เพื่อสืบทอดวัฒนธรรมอันดีงามตามประเพณีฮีตสิบสอง คลองสิบสี่ของชาวอีสาน ซึ่งถือเป็นจารีตที่ปฏิบัติสืบมาว่า เมื่อได้เก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวใหม่หากได้มีการจัดทำบุญประเพณีถวายทานแด่พระภิกษุสงฆ์ก่อนถือว่าได้อานิสงค์มาก ผู้นำชุมชนและชาวบ้านในตำบลบ้านค้อได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการสืบทอดประเพณีอันดีงาน จึงร่วมแรงร่วมใจจัดงานนี้ขึ้นเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีบุญข้าวจี่ เพื่อสร้างเสริมพลังความสามัคคีของพี่น้องประชาชนชาวตำบลบ้านค้อ และตำบลใกล้เคียง พร้อมทั้งให้อนุชนรุ่นหลังได้สืบทอดประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นทราบและเข้าใจ ภาคภูมิใจในบุญประเพณีของชาวอีสานตามฮีตสิบสอง คลองสิบสี่ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ และปฏิบัติตามจารีตประเพณี และถือปฏิบัติศีลธรรมอันดีงามในท้องถิ่นให้สืบทอดต่อไป จุดเริ่มต้นของการรวบรวมสิ่งของ เพื่อจัดตั้งเปนพิพิธภัณฑ์ มาจากการรวบรวม สิ่งของโบราณโดย เจ้าอาวาสวัด และการริเริ่มโดยตระกูลเก่าแก่ สกุล”คนคล่อง” ตั้งต้น โดยการรวบรวมผ้าป้าของลูกหลาน ในรุ่นของ ดร.จุไรรัตน์ คนคล่อง และ ดร.ดารินี บุตดีวงศ์ พร้อมเครือญาติ มอบถวายเพื่อก่อสร้าง เป็นอาคาร ซึ่งเคยใช้เป็น โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลบ้านค้อ และรองรับนักท่องเที่ยว  ในช่วงเทศกาลงานบุญประเพณีต่างๆ โดยเฉพาะบุญข้าวจี่ยักษ์ที่ยิ่งใหญ่ นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตของชาว ไทยอีสาน การหาอยู่หากินโดยมีการจัดแสดงเครื่องสาน […]

พิพิธภัณฑ์บ้านเกวียนมุก 

 พิพิธภัณฑ์บ้านเกวียนมุก  อำเภอเมือง  จังหวัดมุกดาหาร เลขที่ 10 ซอยตาดแคน 8, ถนนตาดแคน, ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร, 49000    โทร.042 613 647  “บ้านเกวียนมุก พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านอีสานสองฝั่งโขง” เกิดขึ้นจากใจรักและความผูกพันของคุณสมศักดิ์ สีบุญเรือง ที่มีต่อคุณตาซึ่งเป็นคนอีสานและเคยเป็นนายฮ้อยมาก่อน โดยเกิดความประทับใจเมื่อครั้งยังเด็กที่เห็นคุณตาซึ่งเป็นคนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ แต่กลับพึ่งพาตนเองได้ดี ไม่ใช้เงิน ใช้ภูมิปัญญาที่เรียบง่าย ปลูกข้าว หาปลา    สิ่งเหล่านี้หล่อหลอมทำให้เกิดความหลงใหลในภูมิปัญญาพื้นบ้าน มรดกท้องถิ่น และกลายเป็นนักสะสมของเก่าอย่างจริงจัง จนกระทั่งชาวบ้านขนานนามว่า “บ้าของเก่า”  ข้าวของต่าง ๆ ที่สะสมมาจากหลายทาง  ด้วยกัน ทั้งซื้อ ขอ แลกเปลี่ยน รวมถึงมีผู้มอบให้บ้าง และไม่ใช่มีเพียงแต่ของจากภาคอีสานเท่านั้น แต่ยังมีของจากลาว เขมร เวียดนาม จีน ด้วยเหตุนี้ จึงตั้งชื่อว่าต่อท้ายว่าเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านอีสานสองฝั่งโขง หลังจากสะสมมานานกว่า 10 ปี ข้าวของเริ่มมีมากขึ้นและเกิดปัญหาเรื่องที่จัดเก็บ คุณสมศักดิ์จึงเริ่มคิดถึงการทำพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเพื่อจะได้เปิดโอกาสให้คนอื่นได้ชมบ้าง   แต่ในตอนแรกรู้สึกว่าการทำพิพิธภัณฑ์เป็นเรื่องยิ่งใหญ่ เกินเอื้อม เป็นเรื่องของราชการ […]

Begin typing your search term above and press enter to search. Press ESC to cancel.

Back To Top