พิพิธภัณฑ์บ้านเกวียนมุก 

 พิพิธภัณฑ์บ้านเกวียนมุก  อำเภอเมือง  จังหวัดมุกดาหาร

เลขที่ 10 ซอยตาดแคน 8, ถนนตาดแคน, ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร, 49000    โทร.042 613 647 

“บ้านเกวียนมุก พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านอีสานสองฝั่งโขง” เกิดขึ้นจากใจรักและความผูกพันของคุณสมศักดิ์ สีบุญเรือง ที่มีต่อคุณตาซึ่งเป็นคนอีสานและเคยเป็นนายฮ้อยมาก่อน โดยเกิดความประทับใจเมื่อครั้งยังเด็กที่เห็นคุณตาซึ่งเป็นคนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ แต่กลับพึ่งพาตนเองได้ดี ไม่ใช้เงิน ใช้ภูมิปัญญาที่เรียบง่าย ปลูกข้าว หาปลา    สิ่งเหล่านี้หล่อหลอมทำให้เกิดความหลงใหลในภูมิปัญญาพื้นบ้าน มรดกท้องถิ่น และกลายเป็นนักสะสมของเก่าอย่างจริงจัง จนกระทั่งชาวบ้านขนานนามว่า “บ้าของเก่า”  ข้าวของต่าง ๆ ที่สะสมมาจากหลายทาง  ด้วยกัน ทั้งซื้อ ขอ แลกเปลี่ยน รวมถึงมีผู้มอบให้บ้าง และไม่ใช่มีเพียงแต่ของจากภาคอีสานเท่านั้น แต่ยังมีของจากลาว เขมร เวียดนาม จีน ด้วยเหตุนี้ จึงตั้งชื่อว่าต่อท้ายว่าเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านอีสานสองฝั่งโขง หลังจากสะสมมานานกว่า 10 ปี ข้าวของเริ่มมีมากขึ้นและเกิดปัญหาเรื่องที่จัดเก็บ คุณสมศักดิ์จึงเริ่มคิดถึงการทำพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเพื่อจะได้เปิดโอกาสให้คนอื่นได้ชมบ้าง   แต่ในตอนแรกรู้สึกว่าการทำพิพิธภัณฑ์เป็นเรื่องยิ่งใหญ่ เกินเอื้อม เป็นเรื่องของราชการ แต่กลับเกิดแรงบันดาลใจเมื่อได้ไปชมพิพิธภัณฑ์ม้ง ที่อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งสร้างแบบง่าย ๆ คล้ายโรงนา เล้าไก่ รวบรวมข้าวของเครื่องใช้ของม้ง จึงเกิดแนวคิดว่าเราก็น่าจะทำได้ ประกอบกับได้รับมรดกที่ดินกว่า 10 ไร่ ได้เริ่มดำเนินการก่อตั้งเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2538 เป็นต้นมา และเริ่มเปิดแสดงอย่างไม่เป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2541 การจัดแสดง  พิพิธภัณฑ์จัดแสดงแบ่งเป็นอาคารต่าง ๆ ตามลักษณะสิ่งของที่จัดเก็บ

1.) ภาพป้ายพิพิธภัณฑ์ – ตัวอาคาร

2.) ชื่อ – สกุล ผู้ประสานงาน

    นาย สมศักดิ์ สีบุญเรือง    042 613 647   facebook  บ้านเกวียนมุก 

3.) ที่อยู่พิพิธภัณฑ์ (พิกัด GPS)

เลขที่ 10 ซอยตาดแคน 8, ถนนตาดแคน, ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร, 49000

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านอีสานสองฝั่งโขง บ้านเกวียนมุก https://g.co/kgs/7twKyW

4.) ภาพสิ่งของในพิพิธภัณฑ์

หลังแรกเรียกว่า “เรือนของเก่า” เป็นเรือนไม้สองชั้น ชั้นบนเป็นที่อยู่อาศัยส่วนชั้นล่างจัดแสดงเครื่องถ้วยโถโอชาม มีทั้งชามตราไก่ ชามจากเวียดนาม ชามจากจีน เครื่องทองเหลือง เครื่องเงิน เครื่องโลหะ เชี่ยนหมาก เงินตราโบราณ ตราชั่ง เตารีด ขวานหินรวมถึงฟอสซิลไดโนเสาร์ เป็นต้น 

                
ติดกับเรืองของเก่า เป็น “เรือนพื้นบ้าน” เป็นเรือนไม้มุงจากชั้นเดียว ภายในจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ในครัวเรือนของชาวอีสาน อาทิ ไหขังปลา เครื่องหีบอ้อย โฮงกระบอง ขี้ไต้จุดไฟ ตุ่มใส่น้ำ ตุ่มใส่ปลาร้าจากอ.โพนพิสัย อายุกว่า 80 ปี ที่กรองน้ำปลาร้า ที่ดักหนู โปง(ระฆัง) ฟืม(ทอผ้า)   อัก เครื่องมือช่าง   เครื่องดักสัตว์ ฯลฯ 

              
“โฮงเกวียน” หรือโรงเก็บเกวียน ซึ่งถือว่าเป็นจุดเด่นของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ โฮงเกวียนมีทั้งหมด 2 หลังด้วยกัน หลังแรกบริเวณผนังด้านข้างทั้งสองด้านจัดแสดงนิทรรศการเรื่องเกวียน ภาพถ่ายเก่าเกี่ยวกับคาราวานเกวียน การค้าอีสานในอดีต ประวัติศาสตร์จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งมีคำบรรยายประกอบทั้งไทยและอังกฤษ   ตรงกลางมีเกวียนรูปแบบต่าง ๆ แสดงไว้ให้ชม คุณสมศักดิ์เล่าว่า ลักษณะของเกวียนจะแตกต่างกันตามภูมิประเทศและการใช้งาน เกวียนของอ.นาแก อ.เรณูนคร จ.นครพนม จะเป็นเกวียนล้อใหญ่ ปีกกว้าง เพราะดินในแถบนั้นเป็นดินทราย หรือเกวียนของชลบุรี ก็จะเป็นเกวียนขนาดใหญ่ ต้องใช้ควายถึง 2 ตัวลาก แต่ถ้าพื้นที่เป็นดินแข็ง เช่น ยโสธร เกวียนจะมีลักษณะบอบบางสวยงาม ว่ากันว่าเกวียนบ้านนาสะไมย์ จ.ยโสธร เป็นเกวียนที่มีรูปลักษณ์ที่สวยที่สุดในประเทศ ชิ้นส่วนที่ประกอบขึ้นมาจนได้เกวียนหนึ่งเล่มนั้นสามารถถอดออกได้ทุกชิ้นส่วน แต่ละชิ้นส่วนทำมาจากไม้ต่างชนิดกัน อาทิ กำเกวียนหรือซี่ล้อเกวียนนั้นทำได้ไม้พยุง ซึ่งถือว่าเป็นไม้เนื้อแข็ง ส่วนเพลาทำจากไม้ลูกหยี คุณสมบัติที่สำคัญคือหักยากมาก นับได้ว่าการทำเกวียนถือเป็นภูมิปัญญาหนึ่งของคนในอดีต

เกวียนที่บ้านเกวียนมุกมีทั้งหมด 120 เล่ม แต่หลังจากเก็บไว้แล้วมีปัญหาเรื่องปลวก จึงได้ถอดชิ้นส่วนเก็บไว้ในโฮงเกวียนหลังที่สอง เกวียนที่ประกอบและจัดแสดงไว้มีเกือบ 20 เล่ม 

ด้านข้างของโฮงเกวียนยังมี โรงสีข้าว จัดแสดงเครื่องสีข้าว ที่คุณสมศักดิ์ซื้อต่อมาจากโรงสีแห่งหนึ่ง และนำมาประกอบไว้ให้ได้ชมกัน โดยมีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับเรื่องการสีข้าวด้วย นอกจากนี้ยังแสดงเครื่องมือทำนา ครกตำข้าว แอก ไถ เป็นต้น

คุณสมศักดิ์กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า  “.. การดำเนินงานพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านโดยลำพังนั้นรู้สึกว่ายากแต่ก็ทำด้วยใจรัก สิ่งที่ยากยิ่งกว่าคือ การดูแลรักษาซึ่งยากมากแต่ก็หนีไม่พ้นเพราะทำมาจนป่านนี้แล้วก็ต้องทำต่อไป ตลอดเวลา 7-8 ปีที่ผ่านมาก็ก้มหน้าก้มตาทำอยู่คนเดียว .. ทุกวันนี้ก็เปิดให้เข้าชมโดยไม่ได้เก็บค่าอะไร  มีนักเรียนมาจากหลายจังหวัด  ครูบาอาจารย์ก็สนใจมาดู  จากผลงานที่ทำมา 10 กว่าปีก็ภูมิใจอยู่นิด ๆ ว่าเราได้เป็นประกายไฟเล็ก ๆ ได้ช่วย อบต.หลายแห่ง ได้ช่วยครูบาอาจารย์ให้ไปจัดมุมศิลปวัฒนธรรม จัดศูนย์วัฒนธรรม ผมก็ได้ไปช่วยแนะนำบ้างตามที่พอจะช่วยได้ .. มาถึงวันนี้ก็รู้สึกหายเหนื่อย เมื่อมีผู้คนเห็นความสำคัญ และเข้ามาช่วยเหลือบ้างตามสมควร แต่สิ่งที่ดีใจมากกว่าคือมีประชาชนแสดงความจำนงค์จะมอบสิ่งของให้และได้มอบให้แล้วหลายรายด้วยกัน

5.) กรรมการพิพิธภัณฑ์ (ถ้ามี)

6.) อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

     -ไม่มี-

Posts created 14

Related Posts

Begin typing your search term above and press enter to search. Press ESC to cancel.

Back To Top