พิพิธภัณฑ์ชุมชน นาอุดม-โนนหนองหอ หรือแหล่งโบราณคดีโนนหนองหอ
แหล่งโบราณคดีโนนหนองหอ ต.นาอุดม อ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร เป็นแหล่งโบราณคดีในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย หรือ ยุคเหล็ก อายุประมาณ 2500 -1500 ปีมาแล้ว จากการดำเนินงานระหว่าง ปี 2550-2552 ทั้งงานโบราณคดีและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการมรดกศิลปวัฒนธรรมใน ชุมชนท้องถิ่น ทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลทางวิชาการที่สำคัญทั้งยังเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่เกิด ขึ้นในวงการโบราณคดีประเทศไทย นั่นก็คือ การค้นพบแหล่งผลิตกลองมโหระทึกในประเทศไทย เมื่อพิจารณาถึงการแพร่กระจายกลองมโหระทึกตามชุมชนโบราณหลายแห่งในประเทศ ไทย ซึ่งเดิมเราต่างก็เชื่อกันว่ากลองมโหระทึกเหล่านั้นผลิตขึ้นในแถบจีนตอนใต้ และเวียดนามเหนือทั้งสิ้น จากหลักฐานสำคัญของแหล่งโบราณคดีโนนหนองหอ ไม่ว่าจะเป็น ชิ้นส่วนแม่พิมพ์กลอง เบ้าหลอม ก้อนโลหะ (สำริด /ทองแดง) แม่พิมพ์เครื่องมือ เครื่องมือเครื่องใช้สำริด ได้แสดงถึงกิจกรรมด้านโลหะกรรมอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการหล่อกลองมโหระทึก ซึ่งยังไม่เคยปรากฎหลักฐานในดินแดนประเทศไทยมาก่อน และอาจเป็นไปได้ว่ากลองมโหระทึกหลายใบที่พบในประเทศไทย โดยเฉพาะในเขตพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร อาจจะผลิตขึ้นที่แหล่งโบราณคดีแห่งนี้ นอกจากนั้นหลักฐานต่างๆที่ค้นพบยังบ่งบอกถึงลักษณะร่วมกันทางวัฒนธรรมหลาย ประการ สามารถนำไปสู่การอธิบายและแปลความการติดต่อสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างผู้คน ในกลุ่มวัฒนธรรมเตียนในจีนตอนใต้ วัฒนธรรมดองซอนในเวียดนามตอนเหนือ และชุมชนโบราณของประเทศไทยต่อไป ( ข้อมูลโดยคุณสุกัญญา เบาเนิด นักโบราณคดีชำนาญการ)